SHATAVARI / รากสามสิบ / สาวร้อยผัว

ศตวรี / รากสามสิบ
สิ่งประกอบสำคัญของยาบำรุงสตรีจากธรรมชาติ มายาวนานนับพันปี จนปัจุบันกลับถูกลืมลืนและแทนที่ด้วยสารเคมี ที่ออกฤทธิ์ฉับพลันแฝงด้วยสิ่งอันตราย
ในทางกลับกัน รากสามสิบ ให้ผลลัพท์ที่ช้า แต่ยั้งยืนและปลอดภัย และช่วยให้ร่างกายปรับสภาพความสมดุล ของร่างกายได้ด้วยตัวเอง มากกว่าการออกฤทธิ์ด้วยสารเคมี

รากสามสิบในประเทศไทย




สาวร้อยผัว รากสามสิบ  ชื่อวิทยาศาสตร์: Asparagus Racemosus Willd.
     "สาวร้อยผัว" เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณหมายถึง ไม่ว่าจะอายุเท่าใด หญิงนั้นก็ยังมีลูกมีผัวได้ มีอารมณ์ทางเพศได้ แม้จะสูงวัย (ความหมายคล้ายๆสาวสองพันปี) โดยจะใช้รากมาต้มกินหรือปั้นเป็นลูกกลอนกินกับน้ำผึ้ง แต่มีน้อยคนที่จะรู้จักสมุนไพรตัวนี้ สมัยก่อนมีสมุนไพรที่มีชื่อตรงๆแบบนี้มากมาย ไม่ถือหรืออายกันเพราะเป็นเรื่องธรรมดา เช่น ต้น "ซิ่นบ่หี่" คือไม่ต้องใส่ผ้าซิ่น (ผ้าถุง) กันล่ะ เรื่องราวสมุนไพรสารพัดประโยชน์ เป็นทั้งอาหารและยา...ที่ถูกลืมสาวร้อยผัว มักจะรู้จักในชื่อที่ต่างกันไปในแต่ละภาค ภาคกลางมักจะเรียกว่า รากสามสิบ หรือ สามร้อยราก ซึ่งในส่วนของภาคกลางมีของหวานที่ชื่อว่า รากสามสิบแช่อิ่มส่วนในภาคอีสานเรียกว่า ผักชีช้าง ส่วนภาคใต้รับประทานเป็นผักเช่นกันเรียกว่า ผักหนาม เพราะลำต้นมีหนามรับประทานเป็นผัก ใช้ยอดอ่อน ผลอ่อน หน่ออ่อน (ซึ่งพืชชนิดนี้เป็นพืชตระกูลเดียวกับหน่อไม้ฝรั่ง) โดยรับประทานสดๆ ต้ม แกงส้ม แกงกะทิ เป็นต้น และยังมีพืชตระกูลเดียวกันมีลักษณะใกล้เคียงกันมากกับรากสามสิบมีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Asparagus filicinus Buch.-Ham. บางท้องที่เรียกรากสามสิบ ต้นนี้ทางเหนือเรียก ม้าสามต๋อนใช้เป็นยาดองเป็นยาบำรุงสำหรับเพศชาย ซึ่งทั้งสองชนิดมีชื่อเป็นภาษาสันสกฤตเหมือนกัน คือ Satavari จึงมีสรรพคุณทางยาคล้ายๆ กัน นอกจากรับประทานเป็นผักแล้วรากของสมุนไพรชนิดนี้ยังสามารถนำมาทุบหรือขูดกับน้ำเพื่อใช้ซักเสื้อผ้าได้อีกด้วย

      มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร พยายามอย่างยิ่งที่จะนำสมุนไพรรากสามสิบกลับมาสู่สังคม แต่เนื่องจากรากสามสิบในอดีตเป็นสมุนไพรพื้นๆ ที่คนทั่วไปกินเป็นในรูปแบบอาหารเป็นยาจึงไม่ค่อยมีการบันทึก มีเพียงคำบอกเล่าของผู้คนเท่านั้น แต่ก็เป็นสิ่งที่น่ายินดีที่มีตำราทำอาหารของ "ตำรับสายเยาวภา" และ "หนังสือพรรณไม้พระตำหนักสวนปทุมเทิดพระเกียรติ ๕๐ พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี" ได้บันทึกไว้ว่า รากสามสิบใช้เป็นอาหารได้ และในหนังสือได้บรรยายว่า รากของรากสามสิบสามารถใช้แช่อิ่มกินเป็นของหวานได้ และปัจจุบันในจังหวัดสกลนครและระยองได้มีการรื้อฟื้นการนำรากสามสิบมาใช้ประโยชน์ โดยนำมาทำเป็นอาหารและใช้เป็นยาบำรุงทั้งการรับประทานเป็นยาดองเหล้า (ใช้รากแห้งดอง) ยาต้ม ยาชง เป็นต้น