อายุรเวท (สันสกฤต: आयुर्वेद; อังกฤษ: Ayurveda) เป็นการแพทย์แผนโบราณของอินเดียมานานกว่า 5,000 เป็นการแพทย์ทางเลือกแขนงหนึ่ง ในภาษาสันสกฤต คำว่า อายุรเวท มาจากคำว่า "อายุส" หมายถึง อายุยืนยาว และ "เวท" หมายถึง องค์ความรู้ หรือ ศาสตร์ อายุรเวทมีหลายวิธีการดูแลรักษาบำบัด เช่น โยคะอาสนะ ปราณยาม ปัจกรรม โภชนาการ นอกจากจะเป็นศาสตร์ของการรักษา ยังป้องกันโรครวมทั้งเสริมสุขภาพให้ยืนยาวได้อีกด้วย วิวัฒนาการตลอดประวัติศาสตร์ของระบบการรักษาแบบอายุรเวท ยังคงมีอิทธิพลของการแพทย์ในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คัมภีร์ในการระบุการรักษาแบบอายุรเวทปรากฏาในช่วง ยุคพระเวท ในอินเดีย Suśruta Saṃhitā และ Charaka Saṃhitā มีผลงานที่มีอิทธิพลต่อการแพทย์แผนในยุคนี้ หลายศตวรรษที่การรักษาแบบอายุรเวทพัฒนา ในวงการแพทย์ของประเทศแถบตะวันตก อายุรเวทถูกจัดเข้าจัดอยู่ในประเภท และการแพทย์ทางเลือกเสริม
ว่ากันว่าในดินแดนภารตะนั้น รากสามสิบเป็นสมุนไพรที่ถูกกล่าวถึงในคัมภีร์พระเวท ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่มีมาก่อนอายุรเวทด้วยซ้ำ จึงน่าจะถือได้ว่าเป็นสมุนไพรที่มีการใช้มานานหลายพันปีแล้ว ชาวเขาในอินเดียหลายแห่งใช้รากสามสิบแก้ร้อนและดับกระหายในตำรับยาของอายุรเวทจำนวนไม่น้อยก็เข้ารากสามสิบด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นยาต้ม ยาผง ยาหุงด้วยน้ำมัน ยาปรุงด้วยเนยใส ไปจนถึงยากวน ยากวนปรับธาตุและแก้เรื่องประจำเดือนไม่ปกติบางขนานก็เข้ารากสามสิบเป็นตัวหลัก ในทางอายุรเวทนั้นถือว่า รากสามสิบเป็นสมุนไพรบำรุงร่างกาย และเป็นยาอายุวัฒนะโดยเฉพาะสำหรับสตรี
ชื่อเรียกต้นรากสามสิบในภาษาสันสกฤตเรียกว่า
ศตาวรี (Shatavaree)
มีความหมายว่าต้นไม้ที่มีรากหนึ่งร้อยราก
ถ้าไปขุดต้นรากสามสิบจะเห็นเลยว่า ต้นหนึ่งๆ นั้นมีรากเยอะมาก
คัมภีร์อายุรเวทกล่าวว่ารากสามสิบมีรสขม หวาน มีพลังเย็น
มีคุณสมบัติหนักหมายถึงร่างกายต้องใช้เวลาในการย่อยและเมื่อรับประทานแล้ว
จะช่วยเพิ่มมวลเพิ่มเนื้อหนังให้ร่างกาย
นอกจากนี้รากสามสิบยังมีคุณสมบัติชุ่มชื้นอีกด้วย
สรรพคุณเด่นๆ ของรากสามสิบก็ได้แก่
ช่วยบำรุงกำหนัด เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงน้ำนม ช่วยหล่อเลี้ยงและบำรุงร่างกาย
เสริมสร้างและพัฒนาความจำและสติปัญญา บำรุงไฟธาตุ ช่วยแก้ธาตุไฟและธาตุลมกำเริบ
อาการของธาตุไฟกำเริบก็เช่น ร้อนใน ปากเป็นแผล
รุ่มร้อนในร่างกาย ปวดหัวร่วมกับมีอาการร้อนที่กลางกระหม่อม โรคกระเพาะ
ไปจนถึงโรคผิวหนังที่มีการอักเสบร่วมด้วย เช่น เป็นฝี เป็นหนอง
ที่รากสามสิบช่วยแก้ธาตุไฟกำเริบก็เนื่องจากพลังเย็นของมันนั่นเอง
ส่วนอาการธาตุลมกำเริบก็อย่างเช่น
ร่างกายซูบผอมอ่อนเพลีย ผิวหนังแห้ง ท้องผูกบ่อย อุจจาระแข็ง
ไปจนถึงอาการปวดข้อปวดกระดูก กระดูกเสื่อม กล้ามเนื้อลีบ
ที่รากสามสิบช่วยแก้ธาตุลมน่าจะมาจากรสหวานและคุณสมบัติที่ชุ่มชื้นของมัน
ซึ่งตรงกันข้ามกับคุณสมบัติแห้งของธาตุลม
รากสามสิบยังใช้ได้ดีกับคนที่ปัญหาเรื่องร่างกายทรุดโทรม
บวม เป็นเถาดาน และท้องเสีย
การนำรากสามสิบมาปรุงเป็นยานั้น
ตามหลักอายุรเวทมักแนะนำให้ใช้สด คือขุดรากสามสิบมาล้างให้สะอาด ลอกเปลือกนอกออกให้หมด
และเลาะเอาแกนข้างในออก (เวลาขุดรากสามสิบมาหักดูจะเห็นมีแกนเป็นเส้นอยู่ตรงกลาง
ส่วนนี้เขาจะไม่ใช้ทำยา) แต่ถ้าหาอย่างสดไม่ได้จริงๆ ใช้อย่างตากแห้งก็ได้
แต่สรรพคุณและตัวยาอาจไม่มากเท่าอย่างสดเมื่อลอกเปลือกเลาะเอาแกนออกแล้ว
ก็เอาส่วนที่เป็นเนื้อรากมาปรุงเป็นยา
สำหรับผู้ที่มีอาการปวดตามข้อหรือเป็นโรคเก๊าท์
รากสามสิบและเถาชิงช้าชาลี หรือเถาบอระเพ็ด อย่างละเท่ากัน ต้มกับน้ำ ๘ ส่วน
ต้มให้เหลือน้ำหนึ่งในสี่ ดื่มครั้งละ ๖๐ ซีซี (๔ ช้อนโต๊ะ) วันละ ๒-๓ ครั้ง
ก่อนอาหาร