ไฟโตรเอสโตรเจนนี้ประกอบไปด้วยสารหลายกลุ่มเช่น
• สารกลุ่ม isoflavone สารกลุ่มนี้จะมีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศหญิงมาก เนื่องจากสูตรโครงสร้างคล้ายฮอร์โมนเพศ และสามารถจับกับตัวรับเอสโตรเจนในเซลล์( estrogen receptor )ได้มีสารกลุ่มนี้ได้แก่ genistein ที่พบในถั่วเหลือง ถั่วเขียว หญ้าแพรก alfalfa ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ออกสู่ตลาดในปัจจุบัน daidzein พบในถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วดำ เมล็ด alfalfa, miroestrol พบในกวาวเครือ Chandalone และ osajin พบในเถาวัลย์เปรียง Formononetin พบในชะเอมเทศ
• สารกลุ่ม terpene สารกลุ่มนี้แสดงฤทธิ์เป็น estrogenic activity ได้แก่สารในกลุ่ม triterpenoid saponin ได้แก่ asiaticoside ในใบบัวบก emarginatoside B และ C จากผลมะคำดีควาย ursolic acid พบในพืชทั่วไปและพบมากในผลคัดเค้า
• สารกลุ่ม lignan สารกลุ่มนี้ที่มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศคือ enterolactone และ Enterodiol จะพบมากในเส้นใยในพืช ดังนั้น สตรีวัยใกล้หมดประจำเดือนจะถูกแนะนำให้รับประทานผักหรือพืชที่มีเส้นใยมาก เนื่องจากมีสารดังกล่าวที่แสดงฤทธิ์เป็น estrogenic effect นั่นเอง
ไฟโตรเอสโตรเจนและโรคมะเร็ง
ประชากรในภูมิภาคเอเซียและยุโรปตะวันออกพบการเกิด มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งรังไข่ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งต่อมลูกหมาก และรวมถึงโรคหลอดเลือดหัวใจ น้อยกว่าทางประเทศแถบตะวันตกมาก ทางระบาดวิทยาพบว่าไฟโตรเอสโตรเจนมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในการป้องกันภาวะเหล่านี้ในคนเอเซียโดย เฉพาะอย่างยิ่งการบริโภคถั่วเหลือง รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากถั่วเหลือง เป็นประจำซึ่งเป็นแหล่งหลักของ isoflavones คนญี่ปุ่นซึ่งรับประทานอาหารประเภทนี้มาก พบว่าพบอุบัติการของมะเร็งที่สัมพันธ์กับฮอร์โมนน้อยที่สุด ในขณะที่คนญี่ปุ่น ซึ่งอพยพออกจากประเทศแล้วดำเนินวิถีชีวิตแบบชาวตะวันตก พบว่าความเสี่ยงเพิ่มขึ้น จากการศึกษาพบว่าไฟโตรเอสโตรเจนสามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งของมะเร็งเต้านมได้ 18-20% มะเร็งลำไส้ใหญ่15-30 %
จากรายงานการวิจัยกล่าวว่าผลของไฟโตรเอสโตรเจนที่เกี่ยวกับเซลล์มะเร็ง อาจแยกได้เป็น 2 แง่ คือ จากการแสดงฤทธิ์เป็น เอสโตรเจน และจากฤทธิ์ antioxidant ของสาร ฤทธิ์ในลักษณะเอสโตรเจนของไฟโตรเอสโตรเจนเกิดขึ้นได้เนื่องจากสารเหล่านี้มีสูตรโครงสร้างบางส่วนคล้ายคลึงกับฮอร์โมนเพศหญิง estradiol และถึงแม้ว่าสารกลุ่มนี้จะจับกับreceptor ซึ่งคือตัวจับกับตัวรับของเอสโตรเจนของเซลล์ได้ไม่ดีเท่า estradiol เอง นอกจากนี้การจับกันดังกล่าวก็สามารถทำให้เกิดการตอบสนองในเซลมะเร็งต่างๆ กันไปได้ทั้งในลักษณะที่เหมือนกับผลของเอสโตรเจนเองหรือเป็นในทางตรงกันข้าม ที่ระดับความเข้มข้นต่ำๆไฟโตรเอสโตรเจนบางตัวสามารถแสดงฤทธิ์เหมือนเอสโตรเจนโดยกระตุ้นการเจริญของเซลล์ แต่ขณะเดียวกัน ที่ความเข้มข้นสูงขึ้น ไฟโตรเอสโตรเจนชนิดเดียวกันนั้นลับแสดงฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเซลล์แทน(anti-estrogen) ลักษณะของปรากฏการณ์ที่เป็น biphasic เช่นนี้ยังไม่เป็นที่เข้าใจกันดีนัก และอาจจะเกี่ยวข้องกับศักยภาพของ ไฟโตรเอสโตรเจนเหล่านี้ในการแสดงฤทธิ์ที่ขึ้นกับตัวแปรหลายๆ อย่างได้ที่ความเข้มข้นต่ำ แต่ที่ความเข้มข้นสูงกลับแสดงฤทธิ์โดยใช้กลไกคนละแบบกับเอสโตรเจน บางรายงานกล่าวว่าไฟโตเอสโตรเจนที่ได้หลังการรับประทานอาหารที่มีไฟโตเอสโตรเจนในปริมาณปกติ ไฟโตเอสโตรเจนจะแย่งจับ Estrogen Receptor กับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย(anti-estrogen) และช่วยป้องกันการเติบโตของเซลล์ที่ถูกกระตุ้นด้วยได้ด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจน ดังนั้นไฟโตเอสโตรเจนจึงอาจจะลดหรือยับยั้งฤทธิ์ของเอสโตรเจนที่มีต่อเซลล์หรือเนื้อเยื่อที่ตอบสนองต่อเอสโตรเจน เช่น เนื้อเยื่อเต้านม เป็นต้น ซึ่งทำให้ไฟโตเอสโตรเจนช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมได้
เช่นเดียวกับงานวิจัยต่างๆที่ยังไม่มีผลสรุปที่แน่นอน อาจเนื่องจากในการวิจัยนั้นมีประชากรที่ใช้ในการวิจัยไม่มากพอ หรืออาจเกิดจากเชื้อชาติที่ต่างกัน สิ่งแวดล้อมอื่นๆที่แตกต่างกัน หรือวิธีการทดลองที่แตกต่างกันจึงทำให้ผลลัพธ์ของนักวิจัยแต่ละกลุ่มแตกต่างกันออกไป ในเรื่องไฟโตเอสโตรเจนนี้ก็เช่นเดียวกัน นักวิจัยก็ยังมีความเห็นที่เหมือนกันและต่างกัน ที่ยอมรับกันทั่วไปก็คือไฟโตรเอสโตรเจนตัวเดียวกันจะมีฤทธิ์ที่ทั้งคล้ายกับเอสโตรเจน และฤทธิ์ต้านเอสโตรเจน(anti-estrogenic effect) ส่วนความเห็นที่ยังขัดแย้งกันคือไฟโตรเอสโตรเจนนี้จะมีผลเช่นเดียวกับเอสโตรเจนทุกอย่างหรือไม่ เพราะหากไฟโตรเอสโตรเจนมีผลที่เหมือนกับเอสโตรเจนทุกอย่างก็จะมีผลที่ไม่ดีต่อมะเร็งบางชนิดที่ไวต่อฮอร์โมนเอสโตรเจน เช่น มะเร็งเต้านม หรือมะเร็งมดลูก แต่นักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้ก็ยอมรับว่าไฟโตรเอสโตรเจนในระดับที่สูงจะมีฤทธิ์ที่ขัดขวางการทำงานของเอสโตรเจนได้ ซึ่งจะทำให้มีผลดีต่อมะเร็งที่เอสโตรเจนเป็นตัวกระตุ้นในการทำให้เกิดมะเร็งพวกนี้ แต่ก็ให้เหตุผลไม่ได้ว่าเหตุใดไฟโตรเอสโตรเจนที่ระดับความเข้มข้นต่างกันจึงให้ฤทธิ์ที่แตกต่างตรงข้ามกัน
ผู้เขียนมีความเห็นในเรื่องนี้ว่า ไฟโตรเอสโตรเจนนั้นน่าจะมีฤทธิ์ที่คล้ายกับเอสโตรเจนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ไม่ได้มีฤทธิ์ต้านฮอร์โมนเอสโตรเจน(anti-estrogenic effect)โดยตรง เพียงแต่การที่ไฟโตรเอสโตรเจนนั้นมีโครงสร้างที่คล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจนจึงไปแย่งที่กับเอสโตรเจนที่จะไปจับกับตัวรับเอสโตรเจน( estrogen receptor)ในเซลล์ แต่การออกฤทธิ์ของไฟโตรเอสโตรเจนนี้จะไม่เหมือนกับเอสโตรเจนไปทั้งหมดทีเดียว ในหญิงที่ร่างกายมีเอสโตรเจนไม่เพียงพอ ไฟโตรเอสโตรเจนนี้จะทำหน้าที่คล้ายเอสโตรเจนโดยจะไปเสริมในส่วนที่ยังขาด จึงมีผลช่วยบรรเทาอาการของการขาดเอสโตรเจนได้ในหญิงที่หมดประจำเดือน แต่ไฟโตรเอสโตรเจนมีผลในแง่ที่ต่างกับเอสโตรเจนก็คือจะไม่มีผลไปกระตุ้นต่อเซลล์มะเร็งที่ไวต่อเอสโตร เจน และการที่ไฟโตรเอสโตรเจนไปแย่งที่กับเอสโตรเจนได้ ก็จะทำให้เอสโตรเจนที่ร่างกายมีอยู่ออกฤทธิ์ได้น้อยลง และในระดับที่ยิ่งมีความเข้นข้นของไฟโตรเอสโตรเจนในร่างกายมากขึ้นเท่าใดก็จะยิ่งไปแย่งที่การจับกับเอสโตรเจนได้มากขึ้นเท่านั้น จึงยิ่งทำให้มีผลดีต่อการรักษามะเร็งเต้านม มะเร็งมดลูก และในขณะเดียวกันผลที่คล้ายกับเอสโตรเจนนี้ก็จะไปขัดขวางการทำงานของฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรนที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดมะเร็งต่อมลูกหมากได้ด้วยเช่นกัน
ไฟโตรเอสโตรเจนพบได้ในพืชกว่า 70 ชนิด ทั้งพืชที่เป็นสมุนไพรและพืชที่เป็นอาหาร เช่นในสมุนไพรจะพบได้ใน พลู (ใบ, ราก) ดีปลี (ราก) ลักกะจั่น จันทร์แดง หญ้าคา, หญ้าแพรก (ใบและเมล็ด) แห้วหมู (ราก) สบู่ดำ (เมล็ด) ระหุ่ง (เมล็ด) น้ำนมราชสีห์ (ทั้งต้น) ลูกใต้ใบ (ทั้งต้น) คูน (ผล) มะกล่ำตาหนู (เมล็ด) กวาวเครือ (ราก) ตังกุย (ราก) ทองกวาว (ราก) ชบาแดง (ราก, ดอก) ฝ้ายแดง (เมล็ด) เจตมูลเพลิงแดง (ราก) คัดเค้า (ผล) มะคำดีควา (ผล) เทียนดำ (เมล็ด) เทียนสัตตบุตษ์ (เมล็ด) เทียนข้าวเปลือก (เมล็ด) คนทีเขมา (เมล็ด) ปาล์ม (เมล็ด) ว่านชัดมดลูก (เหง้า) รากสามสิบ (ราก) ขิง (เหง้า) ประทัดจีน (แก่น) สะเดาอินเดีย (ใบ) แพงพวยฝรั่ง (ใบ, ราก) หญ้าหัวโต (ทั้งต้น) ครามป่า (เมล็ด) ชิงดอกเดียว (ราก) ส้มกุ้ง (ราก) อีหรุด น้อยหน่า (เมล็ด)
ส่วนในพืชที่เป็นอาหาร เช่น กระเจี๊ยบแดง (กลีบเลี้ยง) กระเทียม พริกไทย กระชาย กระเพรา สะระแหน่ โหระพา (ใบ) สับปะรด มะละกอ (เมล็ด) ปูเล่ กะหล่ำดอก ผักกาดแดง (เมล็ด) มะนาว และมะกรูด (เปลือก ผล) บัวบก ขมิ้น ถั่วต่างๆ และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง