SHATAVARI / รากสามสิบ / สาวร้อยผัว

ศตวรี / รากสามสิบ
สิ่งประกอบสำคัญของยาบำรุงสตรีจากธรรมชาติ มายาวนานนับพันปี จนปัจุบันกลับถูกลืมลืนและแทนที่ด้วยสารเคมี ที่ออกฤทธิ์ฉับพลันแฝงด้วยสิ่งอันตราย
ในทางกลับกัน รากสามสิบ ให้ผลลัพท์ที่ช้า แต่ยั้งยืนและปลอดภัย และช่วยให้ร่างกายปรับสภาพความสมดุล ของร่างกายได้ด้วยตัวเอง มากกว่าการออกฤทธิ์ด้วยสารเคมี

ลักษณะของรากสามสิบ

ชื่อสมุนไพร : รากสามสิบ / สาวร้อยผัว

ชื่ออื่นๆ :  จ๋วงเครือ (เหนือ) ผักชีช้าง (หนองคาย) ผักหนาม (นครราชสีมา) สามร้อยราก (กาญจนบุรี) สามสิบ ชีช้าง จั่นดิน ม้าสามต๋อน
ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Asparagus racemosus Willd.
ชื่อ Ayurvedic : Shatavari
ชื่อสามัญ : Shatavari
ชื่อสามัญในการค้า (ภาษาท้องถิ่นและต่างประเทศ) :
Satavari (สันสกฤต); Shakakul, Satavari, Chatwal, Satawar (ภาษาฮินดี); Satmuli, Shatarnuli (เบงกอล); Satavar Ekalkanto,, Satavari,) Satawar (คุชราต; Shatavari, Aheruballi, Ashadhi, Satmuli (Kanada); Sejnana (แคชเมียร์); Shatavali, Chatavali, Satavari (มาลายาลัม ); Shatavari - Mull, Asvel, Shatmuli, Satavari - Mull ( มราฐี ); Chhotaru, Mohajolo, Sotabari (โอริยา); Tannirvittan kizhangu, Ammaikodi, Kadumulla, Shimai Shadavari, Kilavari (ทมิฬ); Satavari , Philli taga -, Challagadda, Pilli gaddalu (เตลูกู)

ชื่อพ้อง (Synonyms): tetragonus, AsparagusracemosusAsparagus
ชื่อวงศ์ :  Asparagaceae

รากสามสิบ "Shatavari"
เป็น ไม้เลื้อยgalactagogueรากจะแห้งและใช้ในยาอายุรเวท  เป็น ที่เติบโตโดยทั่วไปในเทือกเขาหิมาลัยและอินเดีย
ในภาษาสันสกฤต  เรียกว่า "ศตาวารี ( Shatavaree ) หมายถึง"  สตรีที่ครอบครอง 100 สามี ( this is an Indian word meaning'a woman who has a hundred husbands')
 การใช้ :
 ---รากมีสารซึ่งทำหน้าที่ galactogogue (เพิ่มน้ำนม)โรคไขข้อ, aphrodisiac, ความผิดปกติทางประสาท
---นอกจากนี้ยังใช้บรรเทาในผู้เป็นดีซ่าน amenorrhoea, โรคไขข้อขับปัสสาวะและโรคเบาหวาน
---Shatavari ใช้ใน Ayurveda แก้อาการอาหารไม่ย่อย (amlapitta) และปรับปรุงระบบการย่อยอาหารโดยเพิ่มระดับของอะไมเลสและเอนไซม์ไลเปส
---ต้านเชื้อแบคทีเรีย  รักษาอาการบิด,ท้องร่วง (antidiarrhoeal)
---ทำให้เกิดภาวะภูมิคุ้มกันสมดุล (Immune Balance หรือ Immunomodulation)
---ป้องกันกระเพาะอักเสบ (cytoprotective) ปรับสมดุลกรดด่าง
---ลดอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ (antispasmodic ) แก้ปวดมดลูก
---บรรเทาอาการอักเสบ(antiulcerogenic)
---สมบัติของ phytoestrogenic สมุนไพรที่มีประโยชน์ในการรักษาความผิดปกติ neurodegenerative และสามารถลดภาวะซึมเศร้าได้
---ใช้เพื่อถอนแอลกอฮอล์ หรือแก้เมาค้าง
---ผู้หญิงใช้ racemosus(ส่วนราก) สำหรับ โรค premenstrual (PMS) หรือโรคปวดท้องประจำเดือน และการตกเลือดในมดลูกและเพื่อเริ่มต้นการผลิตนมแม่
---มะเร็ง (จะใช้ในการสร้างความเข้มแข็งของผู้ป่วยหลังการรักษาด้วยเคมีบำบัด)
---ไข้เรื้อรังหลอดลมอักเสบ

คุณค่า 3 ประการที่คนส่วนมากต้องการ
aphrodisiac หมายความว่า ซึ่งกระตุ้นความต้องการทางเพศ
antispasmodic  ระงับอาการหดเกร็ง(ภาวะปวดประจำเดือน)  รักษาอาการกล้ามเนื้อกระตุก
ชูกำลังและบำรุงปัสสาวะ
 องค์ประกอบทางเคมีที่พบใน Asparagus racemosus
        สารสำาคัญที่พบมากในรากของต้นสามสิบคือ steroidal saponins ที่มีน้ำตาลเป็นองค์ประกอบ พืชสร้างสารกลุ่มนี้มาเพื่อให้มีคุณสมบัตเป็นไขเคลือบเพื่อปกป้องผิวของพืชจากสภาพแวดล้อมภายนอก สารกลุ่มนี้สามารถละลายน้ำแล้วเกิดฟองได้มีการนำามาทุบหรือขุดกับน้ำทำเป็นสบู่ซักผ้าได้ทั้งรากและผล
• steroidal saponins จะทำหน้าที่เลียนแบบฮอร์โมนเพศจึงเรียกสารกลุ่มนี้ อีกอย่างได้ว่าphytoestrogen ซึ้งทำหน้าที่คล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจน  ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิง และมีการศึกษาผลของ phytoestrogen กลุ่มนี้ในสตรีวัยทอง และสตรีวัยหลังหมดประจำาเดือน พบว่า  สามารถลดการเกิดกระดูกพรุน โรคระบบหลอดเลือดและหัวใจ
และความเสี่ยงของโรคมะเร็งบางชนิด  โดยเฉพาะประเภทที่มีความเกี่ยวข้องกับฮอร์โมน เช่น มะเร็งเต้านม
และมะเร็งต่อมลูกหมาก  นอกจากนี้จากการศึกษาทางระบาดวิทยา พบว่า ผู้หญิงญี่ปุ่นมีอุบัติการณ์การเกิด
มะเร็งเต้านมน้อยกว่าผู้หญิงในประเทศตะวันตก  เช่นเดียวกับผู้ชายญี่ปุ่นก็มีอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งต่อม
ลูกหมากน้อยกว่าผู้ชายในประเทศตะวันตก   ทั้งนี้อาจเนื่องจากวัฒนธรรมการกินอาหารของชาวญี่ปุ่น  ซึ่ง
ส่วนใหญ่จะเป็นประเภทถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้ ซุป (miso) และยังมีรายงานว่า genistein  (เป็น isoflavones
ชนิดหนึ่ง) สามารถยับยั้งการเกิดเซลล์มะเร็ง   ส่วน daidzein (isoflavones อีกชนิดหนึ่ง) สามารถป้องกัน
โรคกระดูกพรุนโดยไปเสริมการสร้างกระดูก  ขณะเดียวกันก็ช่วยลดการเสื่อมของกระดูก   และทั้ง ตัวนี้
สามารถป้องกันโรคระบบหลอดเลือดและหัวใจ    โดยยับยั้งการจับตัวของเม็ดเลือด   และลดระดับโคเลส-
เตอรอลในเลือด
โดยทั่วไป แพทย์มักจะจ่าย estrogen ในการบำบัดอาการต่าง ๆ ของสตรีวัยทอง   แต่ก็มีหลายรายที่
เลือกใช้ Phytoestrogens เนื่องจากหลายสาเหตุ เช่น
มีประวัติการเป็นมะเร็งเต้านม   เนื่องจาก estrogen  จะกระตุ้นให้เกิด proliferation  ของเนื้อเยื่อ
เต้านมปกติ และที่เป็นมะเร็ง
มีประวัติมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
ตับเสื่อมหน้าที่อย่างรุนแรง
โรค Porphyria (โรคขาด enzyme ชนิดหนึ่งในการสังเคราะห์ hemoglobin)
เลือดออกผิดปกติจากช่องคลอดที่ยังหาสาเหตุไม่ได้
ทนอาการข้างเคียงของยาไม่ได้

สารเคมี : I - Shatavarine, II, III, IV
องค์ประกอบหลักของรากสามสิบ เป็นสารที่มีฤทธิ์ยับยั้งฮอร์โมน oxytocin
สารประกอบ 6 ชนิด ได้แก่สารใหม่ 2 ชนิด คือ4,5-dihydroxy-1,7-dimethoxy-8-methyl-9,10-dihydrophenanthrene และ 6-hydroxy-2-(3'-hydroxy-5'-methoxy-2',4'-dimethyl phenyl) benzofuran

ส่วนประกอบในราก
รากมี phytosterols, saponins,flavonoids,polyphenols ,Saponins รวม shatavarins VI - X, shatavarin I (หรือ asparoside B), shatavarin IV (หรือ asparinin B), shatavarin V, D5 immunoside และschidigerasaponin (หรือ asparanin) วิตามิน C
{Racemoside A, B และ จะละลายน้ำได้  saponins steroidal}
 รวมทั้งยังมีคุณสมบัติคล้าย 8 - methoxy - 5, 6,4'-- trihydroxyisoflavone 7 - O - beta - glucopyranoside - D 2 , phytosterols (0.8%), โพลีฟีน (1.7%) และ flavonoids 3
 มีคุณสมบัติของยาปฏิชีวนะเที่ยบได้กับ  คลอแรม
ประสิทธิภาพของยาปฏิชีวนะต่อ เชื้อ Escherichia coli , Shigella dysenteriae , Shigella sonnei , Shigella flexneri , Vibrio cholerae , Salmonella typhi , Salmonella typhimurium , Pseudomonas putida , Bacillus subtilis และ Staphylococcus aureus .(ใช้เมธานอล)ผลิตจากสารสกัดเทียบกับ chloramphenicol
          รากสามสิบมีรสหวานเย็น  มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ สร้างสารหล่อลื่นโดยทั่วไปในร่างกาย รักษาอาการท้องเสียหรือบิด ใช้รักษาโรคตับหรือปอดพิการ บำรุงตับและปอด รักษาภาวะประจำเดือนไม่ปกติ ปวดประจำเดือน ภาวะมีบุตรยาก ตกขาว ภาวะหมดอารมณ์ทางเพศ ภาวะหมดประจำเดือน บำรุงน้ำนม บำรุงครรภ์ ป้องกันการแท้งบุตร และใช้เป็นยากระตุ้นความต้องการทางเพศ บำรุงกำลัง แก้กระษัย ใช้เป็นสมุนไพรต้านการอักเสบของกระเพาะอาหาร รักษาโรคเบาหวาน และไขข้ออักเสบ

สรรพคุณอื่นๆ

ใบ--เอามาชงเป็นชาดื่ม แก้เจ็บคอ ร้อนใน
ราก-- เอามาทำยาสระผม รักษารังแค แก้คันศีรษะ



สาวร้อยผัว ในตำราต่าง ๆ เรียกชื่อทางวิทยาศาสตร์ของไม้ชนิดนี้ต่างกันไปบ้างเช่น ในพจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตสถานฯ ท่านระบุไว้ชัดเจนว่า รากสามสิบ น. ชื่อไม้เถาชนิด Asparagus racemosus Willd. ในวงศ์ Asaragaceae เถามีหนามใบลดรูปเป็นเกล็ด กิ่งเรียวรูปเข็ม รากอวบ ใช้ทำยาและแช่อิ่มได้ พายัพเรียก จ๋วงเครือ หรือ จั่นดิน
ในตำราบางเล่มระบุวงศ์ต่างออกไป เป็นวงศ์ LILIACEAE เช่นเดียวว่านหางจระเข้ (Aloebarba densis mill) และต้นดองดึง (Gloriosa superba Linn.) ซึ่งต้นดองดึงนั้น พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน ระบุว่าอยู่ในวงศ์ COLCHICACEAE ที่ต่างจากตำราเล่มอื่น ๆ ด้วย
สาวร้อยผัว จัดเป็นไม้เถาขนาดเล็ก มีรากเป็นกระจุกมากมาย (คล้ายรากของกระชาย) ต้นหรือเถาแรกออกจะโผล่แต่เถากลาง (เถาหลัก) ขึ้นไปในอากาศ ตามเถาจะมีหนามงุ้มลงเป็นระยะ ๆ (แต่ละข้อ) หลังจากนั้น ก็จะมีกิ่งแขนงโผล่ขึ้นมาจากเถาหลักดังกล่าวในแต่ละข้อ ส่วนใบก็จะออกรอบ ๆ กิ่งแขนง (ตามข้อ) ลักษณะของใบจะเป็นคล้าย ๆ เข็มเล่มเล็ก ๆ เป็นใบเดียวบ้าง เป็นกระจุกบ้าง บางกระจุกมีมากถึง 8-9 เส้น เมื่อใบออกเต็มที่จะมีสีเขียว เป็นพวงรอบกิ่งแขนง มองดูคล้ายพวงหางกระรอก ในช่วงปลายฝนต้นหนาวจะออกดอกสีขาวให้ชม (ราวกันยายน ตุลาคม) ผลกลม มี 3 พู และมีเมล็ดอยู่ภายในพูนั้น ฉะนั้น จึงสามารถขยายพันธุ์ได้ ทั้งปลูกด้วยเมล็ดและใช้เหง้าหรือหน่อ โดยควรจะปลูกในช่วงต้นฝน ส่วนจะปลูกลงดิน ลงกระถาง หรือจะปลูกในถุงดำทรงสูง ใส่ดินมาก ๆ (เพราะต้องการรากในปริมาณมาก ๆ) ก็แล้วแต่ความต้องการและวัตถุประสงค์ หากต้องการปลูกเป็นเพียงไม้ประดับ ก็ใช้กระถางเพียงพอแล้ว เพื่อให้ง่ายแก่การย้ายไปตั้งใกล้ต้นไม้อื่น
เมื่อมีอายุครบขวบตามฤดูกาลแล้ว ต้นสาวร้อยผัวก็จะเฉาและยุบลงไป อันจะเป็นสัญญาณว่าให้ขุดเอารากมาล้างน้ำให้สะอาดแล้วนำเอารากไปใช้ประโยชน์ (แช่อิ่มหรือตากแห้ง) ได้แล้ว
ยอดของสาวร้อยผัว สามารถนำมาลวกรับประทานเป็นผักจิ้มได้ (edible) ส่วนใหญ่จะรู้จักรับประทานแต่คนเก่า ๆ แถวภาคอีสานของเรา และนับวันจะมีคนรู้จักรับประทานน้อยลง
ในทางสรรพคุณยา รากสามสิบ (สาวร้อยผัว) มีรสหวานเย็น ใช้รักษาโรคตับหรือปอดพิการ บำรุงตับและปอด บำรุงทารกในครรภ์ (ครรภรักษา) บำรุงกำลัง แก้กระษัย และช่วยขับปัสสาวะ
ใน พระคัมภีร์สรรพคุณ (แลมหาพิกัด)ซึ่งเชื่อว่า เป็นคัมภีร์ที่แต่งขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา (เพราะปรากฏอยู่ใน ตำราพระโอสถพระนารายณ์”) ได้กล่าวถึงสรรพคุณของรากสามสิบไว้ว่า
ผักหวานตัวผู้มีรสหวาน แก้กำเดา แก้จักษุโรค (โรคตา) รากสามสิบทั้ง 2 มีคุณยิ่งกว่าผักหวาน
กำเดา หรือไข้กำเดา มี 2 ชนิด อย่างหนึ่งตัวร้อน ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร และอีกอย่างหนึ่ง อาการรุนแรงมากกว่า มีเม็ดผุดขึ้นตามร่างกาย คัน ไอ มีเสมหะ เลือดออกทางปากและจมูก