SHATAVARI / รากสามสิบ / สาวร้อยผัว

ศตวรี / รากสามสิบ
สิ่งประกอบสำคัญของยาบำรุงสตรีจากธรรมชาติ มายาวนานนับพันปี จนปัจุบันกลับถูกลืมลืนและแทนที่ด้วยสารเคมี ที่ออกฤทธิ์ฉับพลันแฝงด้วยสิ่งอันตราย
ในทางกลับกัน รากสามสิบ ให้ผลลัพท์ที่ช้า แต่ยั้งยืนและปลอดภัย และช่วยให้ร่างกายปรับสภาพความสมดุล ของร่างกายได้ด้วยตัวเอง มากกว่าการออกฤทธิ์ด้วยสารเคมี

ผู้หญิงกับสมุนไพร


สมุนไพรมีบทบาทในชีวิตของผู้หญิงมานานแล้ว ทั้งในด้านการบำรุงรักษาสุขภาพ และการเสริมความงาม สุขภาพที่ดีของผู้หญิงส่วนหนึ่ง จะเกี่ยวข้องกับการมีเลือดระดูที่เป็นปกติ และการบำรุงรักษาตัวก่อนและหลังคลอด ในตำรายากลางบ้าน จะปรากฎตำรับยารักษาโรคและบำรุงสุขภาพเฉพาะสำหรับผู้หญิง เช่น ยาแก้มุตกิตระดูขาว, ยาฟอกโลหิต (คำนี้เป็นที่เข้าใจว่า เมื่อโลหิตไม่ดีจะก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วย), ยาบำรุงโลหิตระดู (เป็นยาช่วยให้โลหิตระดูเป็นปกติ), ยาแก้แพ้ท้อง, ยาแก้ตกเลือดขณะมีครรภ์, และยาสำหรับสตรีหลังคลอด ได้แก่ ยาขับเลือด ขับน้ำคาวปลา ยาช่วยแทนการอยู่ไฟ ยาแก้ปวดมดลูก ยาแก้สันนิบาตหน้าเพลิง (หรือบาดทะยักปากมดลูก เป็นอาการไข้หลังคลอด มีการติดเชื้อและอาการอักเสบที่ระบบทางเดินปัสสาวะ) และยาบำรุงน้ำนม
ตำรับยากลางบ้าน

ตำรับยากลางบ้านส่วนมากจะประกอบด้วยพืชสมุนไพรหลายชนิด วิธีการเตรียมอาจจะนำไปต้ม ชง ดองเหล้า หรือ อาบ เป็นต้น ตัวอย่างเช่น 
ยาชงแก้ไข้ทับระดู
 ยาชงแก้ไข้ทับระดู ประกอบด้วย เกสรบัวหลวง ดอกสารภี ดอกบุนนาค จันแดง จันขาว ดอกมะลิ ดอกพิกุล แก่นไม้หอม ฝางเสน รากเท้ายายม่อม รากมะพร้าว แก่นสน สักขี รากย่านาง รากลำเจียก รากมะนาว สิ่งละ 1 บาท (15 กรัม) บดเป็นผงไว้ใช้ชงน้ำร้อน รับประทานครั้งละ 1 ช้อนชา ให้จิบอยู่เสมอจนกว่าไข้จะสงบ
ยาขับน้ำคาวปลา
 ยาขับน้ำคาวปลา ประกอบด้วยผงถ่านพริกขี้หนู 1 ช้อนโต๊ะผสมกับน้ำส้มสายชู 1 ถ้วยชา รับประทานครั้งแรกครึ่งถึง 1 ถ้วยชา ครั้งต่อไปใช้เหล้าผสมแทนน้ำส้มสายชูรับประทานวันละ 2-3 ครั้ง
ผงถ่านพริกขี้หนู ทำโดยนำพริกขี้หนูแห้ง 1 กำมือ ใส่กระทะตั้งไฟจนควันขึ้น จุดไม้ขีดได้แหย่ลงไป พริกขี้หนูจะติดไฟ ทิ้งไว้สักพักจนไหม้ดำเป็นถ่านหมด
ยาอบอาบหลังคลอด
 ยาอบอาบหลังคลอด ประกอบด้วย หัวไพล ใบมะขาม ตะไคร้ (ต้นและใบ) ใบหมากผู้หมากเมีย ใช้ย่างละ 1 กำ ไพลใส่มากหน่อย ต้มในกาละมังใหญ่พอนั่งได้ พอเดือดก็ยกขึ้น ยืนให้ชิดกาละมัง เอาผ้าห่มผืนใหญ่คลุมตลอดทั้งตัวและกาละมังให้ไอจากกาละมังอบตัว เมื่อหมดไอน้ำแต่น้ำยังอุ่นอยู่ให้ลงไปแช่ทั้งตัว ทำเช่นนี้ 7 วัน วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น จะช่วยขับเหงื่อทำให้รู้สึกสบายเบาตัว แผลหลังคลอดหายเร็วและบำรุงผิว
ยาขับโลหิต
 ยาขับโลหิต ประกอบด้วย ฝางเสนหนัก 4 บาท แก่นขี้เหล็ก หนัก 2 บาท ต้มรับประทานแก่นเลือดระดูมา ถ้ารับประทานเสมอ เลือดระดูจะบริสุทธิ์ และมาสม่ำเสมอ แก้พิษโลหิตร้าย
พืชสมุนไพรที่ใช้ในสตรี

มีพืชสมุนไพรจำนวนมากที่ใช้เฉพาะสตรีดังรวบรวมไว้ในตารางที่ 1 ตารางที่ 1 พืชสมุนไพรที่ใช้สตรี 
อาการ
ชื่อไทย
ชื่อวิทยาศาสตร์
ส่วนที่ใช้
หมายเหตุ
ไข้ทับระดู
หนามหัน
Caesalpinia godefroyana Ktze.
ราก
นนทรี
Peltophorum pterocarpum Back ex Heyne
เปลือกต้น
ขับระดู
ขมิ้นเครือ
(อวดเชือก)
Combretum extensum Roxb.
เนื้อไม้, ใบ
ขอบชะนาง
(หญ้านอนตาย)
Pouzolzia pentandra Benn.
ต้น
คำฝอย
Carthamus tinctorius L.
น้ำมันจากเมล็ด
ขับระดู
คัดเค้า
Randia siamensis Craib
ผล
จำปา
Michelia champaca L.
เนื้อไม้
จันหอม
Tarenna wallichii Ridl.
ใบและต้น
เจตมูลเพลิงขาว
Plumbago zeylenica L.
ต้น
ตะไคร้กอ
Cymbopogon citratus Stapf.
เหง้า
ตะไคร้หอม
Cymbopogon nardus Rendle
เหง้า
มีฤทธิ์บีบมดลูก
อาจทำให้แท้งได้
เทียนดำ
Abroma augusta L.
เปลือกและต้น
นมตำเลีย
Hoyo ovalifolia Wight & Arn
ต้น
ผักเป็ด
Alternanthera triandra Lamk.
ต้น
ฝ้าย(ขาว)
Gossypium herbaceum L.
เปลือกราก และ ต้น
ไพล
Zingiber cassumunar Roxb.
เหง้า
พริกหาง
Piper longum L.
ผล
ยอ
Morinda citrifolia L.
ผล
ส้มกบ
Oxalis acetosella L.
ทั้งต้น
หางนกยูงไทย
Caesalpinia pulcherrima Sw.
ราก
แก้ว
Murraya paniculata Jack..
ใบ
กุ๊ยไช่
Allium odoratum L.
เมล็ด
โมกหลวง
Holarrhena antidysenterica Wall.
ราก
กระเทียม
Allium sativum L.
ผล
ปวดระดู
ตาไก่
Salacia verrucosa Wight.
เนื้อไม้
เถาเกล็ด นาคราช
Dischidia imbricata Warb.
เถา
ขับน้ำ คาวปลา และ เลือดเสีย
กระบือเจ็ดตัว
ขี้เหล็กใหญ่
เหงือกปลาหมอ
Excoecaria bicolor Zoll. ex Hassk.
Cassia siamea
 Britt
Acanthus ebracteatus
 Vahl
ใบ แก่น ผล
ใช้ 7-8 ใบตำคั้นน้ำ
ตำละลายในน้ำมันงาหรือน้ำผึ้ง
ชะเอมเทศ
Glycyrrhiza spp.
เนื้อราก
ไผ่
Bambusa spp.
ใบ
กระทือ
Zingiber zerumbet Smith
ต้น
เปราะหอม
Kaempferia galanga L.
ต้น
ยอป่า
Morinda elliptica Ride
แก่น
ต้มหรือดองเหล้า
ปวดมดลูก หลังคลอด http://board.palungjit.com/images/smilies/star.gif
คำฝอย
Carthamus tinctorius L.
เมล็ด
ว่านชักมดลูก
Curcuma xanthorrhiza Roxb.
หัว
ว่านมหาเมฆ
Curcuma aeruginosa
หัว
บาดทะยัก ปากมดลูก
(สันนิบาตหน้าเพิลง)
เขี้ยวงู
Strychnos thorelii Pierre.
ผล
ว่านสิงหโมรา
Cyrtosperma johnstoni N.E. Br.
กาบ
ใช้ดองเหล้า
ข่าตาแดง
Alpinia spp.
เหง้า
โขลกคั้นกับน้ำส้ม มะขาม
และเกลือ ให้ได้ 1 ชามแกง
มะขามไทย
Tamarindus indica L.
เนื้อผล

ปวดมดลูกหลังคลอด มีอาการปวดท้องน้อยเป็นพักๆ เพราะมดลูกพยายามขับเลือดที่ยังค้างในมดลูกออก การ ให้ลูกดูดนมจะทำให้ปวดมดลูกเพิ่มขึ้น เพราะการดูดนมจะกระตุ้นให้มีการหลั่งเอสโตรเจน ทำให้มดลูกบีบรัดตัวมาก
รส-สรรพคุณของสมุนไพร

สรรพคุณของยากลางบ้าน มักอาศัยรสของสมุนไพรซึ่งมีทั้งสิ้น
10 รส เป็นเครื่องบอกรสของยา ได้แก่

รสฝาด
มีสรรพคุณ
สมาน
รสหวาน
มีสรรพคุณ
ซึมซาบไปในเนื้อ
รสเมาเบื่อ
มีสรรพคุณ
แก้พิษ
รสขม
มีสรรพคุณ
รักษาอาการทางโลหิตและน้ำดี
รสเผ็ดร้อน
มีสรรพคุณ
แก้ทางลมและไข้เกี่ยวกับโลหิต
รสมัน
มีสรรพคุณ
แก้ทางเส้นเอ็น
รสหอมเย็น
มีสรรพคุณ
บำรุงหัวใจ โรคโลหิตหลังคลอดเป็นพิษ บำรุงโลหิต บำรุงครรภ์
รสเค็ม
มีสรรพคุณ
ฟอกโลหิต
รสเปรี้ยว
มีสรรพคุณ
กัดเสมหะ ฟอกโลหิตสตรี
รสจืด
มีสรรพคุณ
แก้ทางปัสสาวะ ลดไข้ ขับปัสสาวะ

จะสังเกตได้ว่า ตำรับยาที่ใช้รักษาอาการไม่สบายในผู้หญิงมักมีรสเผ็ดร้อน รสหอมเย็น รสเค็มและรสเปรี้ยว
สมุนไพรเสริมความงาม

ในผู้หญิงความงามและสุขภาพแข็งแรงเป็นสิ่งที่แยกกันไม่ออก พืชที่ใช้ เป็นเครื่องเสริมความงามบ่อยครั้งจึงเป็น สมุนไพรด้วย เราอาจจะแบ่งสมุนไพร ที่ใช้เสริมความงามได้ดังนี้
สมุนไพรที่ใช้บำรุงผิว
  • โลชั่นทาผิว เราอาจทำใช้เองในบ้านได้โดยผสม Chamomile (Matricaria chamomilla L.) 10 กรัม (แห้ง) กับ salbei (Salera officinalsi L.) 10 กรัม (แห้ง) ให้เข้ากัน เติม 20% สปิริต (หมายถึง อัลกอฮอล์ผสมน้ำและน้ำมันหอมระเหย) ให้ได้ 100 กรัม แช่ไว้ น้ำสกัดที่ได้ใช้ทาผิว ช่วยทำความสะอาดและลดอาการอักเสบ สำหรับผิวที่แพ้ง่ายให้ใช้น้ำแตงกวา ผิวที่อ่อนเปลี้ยให้ใช้น้ำมะเขือเทศสด จะช่วยให้ผิวสดชื่นขึ้น
  • ครีมพอกหน้า การพอกหน้าเป็นวิธีการดูแลรักษาและบำรุงผิวหน้า ทำให้ผิวหน้าสดชื่น เนียนและลบรอยด่างดำ
    การเตรียมครีมพอกหน้า ควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
    • ผลไม้ที่ใช้ต้องสด คุณภาพดี ไม่ควรใช้ มะเขือเทศ แครอท มะนาว หรือกล้วยที่เหี่ยวแห้งแล้ว
    • ภาชนะที่ใช้ใส่ผลไม้ไม่ควรทำด้วยโลหะที่เป็นสนิม ควรใช้แก้วหรือกระเบื้อง
    • ก่อนพอกหน้า ควรทำความสะอาดใบหน้าโดยอังใบหน้ากับไอน้ำและนวดเบาๆ
    • ตลอดเวลาที่พอกหน้าที่ไม่ควรคุยหรืออ่านหนังสือ ให้นอนพักเฉยๆ
    • การพอหน้าครั้งเดียวไม่ได้ผล ต้องทำหลายๆ ครั้ง
    • ถ้าพอกหน้าแบบอุ่น ให้คลุมหน้าด้วยผ้า เพื่อให้อุณหภูมิคงที่นานๆ
    • ถ้าพอกหน้าแบบเปียก ให้ใช้สำลีชุบหรือผ้าขาวบางห่อสมุนไพรนั้นพอกหน้า
    • อย่าพอกที่ตา ปากและรูจมูก
สมุนไพรที่ช่วยเสริมความงามของผม
สมุนไพรในกลุ่มนี้ ได้แก่ สมุนไพรที่ใช้บำรุงรักษาผม ย้อมผม สระผม และน้ำมันใส่ผม แหล่งตัวยาบำรุงผม ได้แก่ สารสกัดจาก Chamomile, hops, หัวหอม เป็นต้น ยาชงจาก chamomile เตรียมได้โดยใช้ chamomile 100-200 กรัมต่อ น้ำเดือด 500 ซีซี สามารถใช้ย้อมผมที่ขาวให้คล้ำลงและคงทนขึ้น นอกจาก chamomile อาจใช้เทียนกิ่ง หรือครามย้อมผมได้ด้วย
คนไทยใช้มะกรูดเป็นสมุนไพร บำรุงผมมานานแล้ว ใช้มะกรูดที่แก่ แต่ไม่สุกผ่าครึ่ง แคะเมล็ดออก บีบเอาน้ำมะกรูด ใส่ผมแล้วสระ หรือนำผลมะกรูด ไปเผาในเตาจนผิวเหลือง นิ่มดีแล้วบีบเบาๆ ตรงหัว (ด้านตรงข้ามกับหัวจุก) ให้น้ำพุ่งออกมาจนหมด นำไปสระผม มะกรูดจะช่วยให้ผมมีน้ำหนักและแก้ผมร่วง
สมุนไพรที่ใช้ทำความสะอาดผิว

ความสะอาดนับเป็นบันไดขั้นต้นในการเสริมความงาม สารที่ใช้ทำความสะอาด ได้แก่
  •  
  • น้ำสมุนไพร ตัวยาจากใบไม้และเนื้อไม้ จะมีแทนนินและซาโปนิน สารพวกนี้ช่วยให้ผิวหอม, สดชื่น และมีสรรพคุณยับยั้งการอักเสบ ช่วยรักษาโรคผิวหนัง แผลไฟไหม้ และโรคปวดข้อ<> 
    การอาบด้วยใบ rosemary ช่วยให้ผิวได้พักผ่อน สดชื่นและคลายความตึงเครียด ในคนที่นอนไม่หลับควรอาบด้วย melissa และดอก thyme หากจะอาบให้สดชื่นและผิวหอมควรใช้ใบ peppermint, arnica, melissa, rosemary และ thyme
  • สบู่ ใช้ทำความสะอาด สมุนไพรที่นำมาผสมจะมีสรรพคุณบำรุงผิว ได้แก่ chamomile และ salbei สบู่จะกำจัดสิ่งสกปรก โดยสลายสิ่งสกปรกมากับน้ำ คุณภาพของสบู่ขึ้นกับปริมาณของกรดไขมัน สบู่ที่ใช้ควรเป็นกลาง จะได้ไม่ละลายไขมันที่ผิวหนัง
  • ครีม มีส่วนผสมของไขมันซึ่งอาจได้จากพืช เช่น น้ำมันมะกอก Prunus ducois (M.U.) D.A. Webb (น้ำมัน Mandel) และโคโคบัตเตอร์ หรือจากสัตว์ เช่น ไขมันหมู่และลาโนลินจากแกะ ไขมันที่มีแร่ธาตุเช่น วาสลิน ไม่เหมาะจะทำเครื่องสำอาง เพราะจะไม่ซึมผ่านผิวหนังแต่อาจจะใช้ป้องกันบริเวณผิวๆ ได้
    • ครีมที่ละลายได้ทั้งในน้ำและไขมันเหมาะที่จะใช้ทาป้องกันรอยย่น
    • ครีมที่มีไขมันมากๆ เหมาะที่จะใช้ทำความสะอาดผิว
    • ครีมที่มีไขมันน้อยๆ ใช้ทาตอนกลางคืนก่อนนอน
    • ครีมที่มีน้ำจะช่วยให้ผิวชื้นและเปียกน้ำง่าย ใช้ทาบำรุงให้ผิวนุ่มและเต่งตึง
    • ครีมที่มีส่วนผสมจากผลไม้และสมุนไพรจะมีวิตามิน น้ำผลไม้ที่ใช้ผสม เช่น ส้ม มะนาว mirabellen กล้วย สตรอเบอรี่ องุ่น มะเขือเทศ แตงกวา แครอทและว่านหางจระเข้
    • ครีมกันแดดจะมีให้เลือกตั้งแต่เป็นครีมป้องกันธรรมดาจนถึงชนิดที่มีตัวยา สร้างสารสี ครีมชนิดนี้มักมี ส่วนผสมจากสมุนไพร เช่น สารสกัดจาก walnat (Juglens regia L.) และจากหัวแครอท
    • ครีมนวดจะมีเมนทอลหรือการบูนเป็นองค์ประกอบ
สมุนไพรกับน้ำหอม
พืชที่มีสารหอมและใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำหอมในยุโรปกลาง มีหลายชนิด เช่น Asperula odorata L., Primula veris L., Salvia officinalisL., Violor odorata L., Urtica dioica L., Humulus lupulus L., Linum usitatissimum L. นอกจากพืชยังได้น้ำหอมจากสัตว์ ที่รู้จักกันดีคือจากMoschus moschiferrae moschus เป็นเครื่องหอมเก่าแก่ ของกษัตริย์และสตรี ชาวอาหรับนำ moschus ไปยังยุโรป จากนั้น moschus ก็กลายเป็นน้ำหอม ราคาแพง มันจะสลายตัว ให้สารที่มีกลิ่นหอม กลิ่นหอมจึงไม่จางหายไปเร็ว
กลิ่นหอมที่ใช้ตามอวัยวะต่างๆ ของร่างกายจะต่างกัน เช่น ผมจะใช้กลิ่นมายอแรม (majoram) ใบหน้า ใช้น้ำมันปาล์ม คอ จะใช้กลิ่นของHedera felix
 L. เป็นต้น
ในบ้านเราพืชที่มีกลิ่นหอม ได้แก่ มะลิ กุหลาบ กระดังงา จำปี จำปา กล้วยไม้บางชนิด เป็นต้น
พืชที่ใช้ทางยาและเครื่องสำอางมานานแล้วคือ chamomile ในดอกจะมีน้ำมัน ซึ่งมี azulene เป็นสารสำคัญ และเนื่องจากมีสีน้ำเงิน จึงเรียกว่า chamazulene สมัยก่อนใช้ chamomile สำหรับผิวที่แพ้ง่าย และช่วยยับยั้งการอักเสบ เราผสม chamomile ในครีม แชมพู โลชั่นทาผิว โลชั่นทาหน้า และยาต้ม ในทางยาใช้ chamomile กลั้วคอบรรเทาอาการ คออักเสบ และช่วยให้การย่อยเป็นปกติ chamomile สามารถผสมน้ำอาบ และใช้พอกช่วยบรรเทาอาการ โรคผิวหนังได้ ต้น Kletta (Arctium lappa
 L.) เป็นสมุนไพรอีกชนิด ที่มีน้ำมันหอมระเหย แทนนิน สารเมือกและเกลือแร่ ช่วยให้ผมงอกได้ แม้จะไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยืนยัน แต่ก็พบในเครื่องสำอาง นอกจากนี้ hops (Humulus lupulus L.) ในเบียร์ มีน้ำมันหอมระเหย แทนนิน และฮอร์โมนเอสโตรเจน hops ใช้ลดอาการระคายเคืองผิว ใช้ผสมน้ำอาบ ผสมในแชมพู น้ำมันใส่ผม และทาผิว เพราะเอสโตรเจน มีผลต่อขบวนการเผาผลาญ ในผิวหนังช่วยให้สดชื่น และดูอ่อนวัย

ปัจจัยกำหนดสรรพคุณของพืชสมุนไพร

สารเคมีที่เป็นตัวกำหนดสรรพคุณของพืชสมุนไพรนั้นแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่
1. สารปฐมภูมิ (Primary metabolite)
 สารนี้จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของพืช ถ้าขาด พืชจะตาย ได้แก่ น้ำตาล กรดอินทรีย์ กรดไขมัน ไขมัน น้ำมัน ขี้ผึ้ง กรดอะมิโน โปรตีน น้ำย่อย เป็นต้น
2. สารทุติยภูมิ (Secondary metabolite)
 สารนี้ถ้าพืชขาดก็ไม่เป็นอันตรายถึงตาย สารกลุ่มนี้อาจเป็นสิ่งที่ขับถ่ายจากพืช เป็นเสบียงที่พืชเก็บไว้ใช้เป็นสารที่พืชสร้างขึ้นในขณะที่ภาวะแวดล้อมไม่เหมาะสม ตัวอย่างของสารกลุ่มนี้ได้แก่ น้ำมันหอมระเหย สารขม สเตียรอยด์ ซาโปนิน แทนนิน อัลคาลอยด์ เป็นต้น
ข้อพิเศษของตำรับยาสมุนไพรคือ
ก. ในตำรับมักจะมีสารสำคัญมากมาย แต่สารสำคัญหลักจะเป็นตัวกำหนดสรรพคุณของสมุนไพรนั้น ส่วนสารอื่นๆ จะช่วยเสริมหรือต้านฤทธิ์ของสมุนไพร
ข. สารสำคัญทุกตัวในตำรับยาสมุนไพรจะออกฤทธิ์ ทำให้สมุนไพรนั้นมีฤทธิ์เฉพาะตัวมากขึ้น
สารปฐมภูมิ
 
    • คาร์โบไฮเดรต
1.1 น้ำตาลที่มีสูตรไม่ซับซ้อนได้แก่ กลูโคสในองุ่น ฟรุคโตสในผลไม้ และน้ำผึ้ง ซึ่งมักจะนำมาใช้พอกหน้า บำรุงผิว น้ำตาบอัลกอฮอล์เช่น D-Mannitol ในพืช Fraxinus spp. ก็ใช้พอกหน้าด้วย
1.2 น้ำตาลที่มีโมเลกุลใหญ่ขึ้น
 เช่น แซคคาโรส และมอลโตสในข้าวมอลต์ แลคโตสในนม เป็นต้น ใช้เป็นเครื่องสำอางบำรุงผิว เมื่อรับประทานจะช่วยให้สุขภาพทั่วไปดีขึ้น
1.3 น้ำตาลโพลีแซคคาไรด์
 เช่น กาแลคแตนจากสาหร่ายทะเล และ carageen ปัจจุบันใช้ทั่วไป ในเครื่องสำอาง ทำเป็นเจลหรืออีมัลชั่น ทำให้ครีมพอกหน้า มีความหนืดและคงทน คุณสมบัติที่เป็นยางเหนียวของมัน ช่วยให้ยาที่ทาไว้ที่ผิว หรือเยื่อบุอ่อนที่อักเสบ เกาะติดได้เป็นเวลานาน
1.4 สารมิวซิเลจ
 เป็นโพลีแซคคาไรด์อีกกลุ่มหนึ่ง ที่เมื่อรวมกับน้ำจะพองตัว ให้สารละลายข้นหนืด มิวซิเลจมีทั่วไปในพืช แต่จะมีสมุนไพร ที่มิวซิเลจไม่กี่ชนิด ที่นำมาใช้ทางยา มิวเซเลจจะเพิ่มฤทธิ์ ของสารสำคัญอื่นๆ และช่วยลดอาการระคายเคืองได้ดี โดยมิวซิเลจจะปกคลุม เป็นชั้นรอบเยื่อบุอ่อน และปกป้องจากสารที่ก่อให้เกิดความระคายเคือง อาการอักเสบ โดยเฉพาะที่เยื่อบุอ่อน จึงหายได้รวดเร็ว มิวซิเลจจะไม่ถูกดูดซึม ฤทธิ์ของมันจึงเป็นฤทธิ์เฉพาะที่ สมุนไพรที่มีมิวซิเลจ มีฤทธิ์ระงับไอ ด้วยถ้าอาการไอนั้นเกิดจากมีสิ่งระคายเคือง มิวซิเลจยังมีฤทธิ์ระบายอ่อนๆ โดยจะช่วยให้กากอาหารอ่อนตัว คุณสมบัติพิเศษอีกอย่างหนึ่งของมิวซิเลจคือ จะช่วยลดความรู้สึก การรับรส โดยเฉพาะรสเปรี้ยว ตัวอย่างเช่น ผลฮิมแบร์ (himbeer) มีน้ำตาลน้อย แต่มีกรด (รสเปรี้ยว) มากกว่า โยฮันนิสแบร์ (Johannisbeer) แต่เมื่อชิมผลฮิมแบร์ จะมีรสหวานกว่า ทั้งนี้เพราะมันมีสารมิวซิเลจมากกว่า
·          
    •  
    • กรดอินทรีย์ได้แก่ กรดจากแอบเปิ้ล และมะนาว เช่น กรดอ๊อกซาลิก กรดทาร์ทาริก และกรดซิตริก ใส่ในเครื่องสำอาง นำมาใช้ทำความสะอาดผิว บำรุงผิง กระตุ้นให้เลือดมาเลี้ยง การใช้เนื้อผลไม้พอกหน้าจะได้กรดอินทรีย์และวิตามินเอ บี 1 และบี 2
      กรดอนินทรีย์ เช่น กรดซิลิซิก (silscic acid) พบมากในพืชวงศ์ Equisetaceae, Boraginaceae และ Graminae พืชจะดูดกรดซิลิซิก จากดินและเก็บสะสมไว้ที่เซลผิว หรือภายในเซล ส่วนโปรโตพลาสซึม กรดนี้จำเป็น ต่อการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายมนุษย์ หากขาดจะเป็นอันตรายต่อผิว ผมและเล็บ จะพบกรดนี้ ในสมุนไพร ที่ใช้เป็นยาบ้วนปาก ยากลั้วคอ และใช้ผสมน้ำอาบ
    • กรดไขมันและอนุพันธ์เอสเตอร์ น้ำมันและไขมัน สารกลุ่มนี้ทางเครื่องสำอางใช้เป็นตัวพาตัวยาสำคัญ ได้แก่ น้ำมันมะกอก น้ำมันแมนเดล (mandel oil) น้ำมันอะโวคาโด น้ำมันงา ส่วนน้ำมันมะพร้าว และโคโคบัตเตอร์ มักใช้เป็นตัวยาป้องกันผิว ลดอาการ ระคายเคืองเฉพาะแห่ง และใช้มาก ในอุตสาหกรรมสบู่ เลซิทิน ซึ่งเป็นไขมัน จากไข่แดง ใช้มาก ในครีมพอกหน้า และแชมพูสระผล สติ๊กมาสเตียรอล ซึ่งเป็นส่วนของไขมันในพืช เป็น provitamin D ช่วยบำรุงผิว แคโรทีนนอยด์จากแครอท เป็น provitamin A ใช้ในเครื่องสำอางบำรุงผิว
    • กรดอะมิโน โปรตีน และน้ำย่อย ปัจจุบันเราทราบว่ามีกรดอะมิโน 21 ตัว เป็นองค์ประกอบสำคัญของโปรตีน น้ำย่อย มีองค์ประกอบเป็นโปรตีน ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาทางชีววิทยา ปัจจุบันเราสามารถ แยกกรดอะมิโน เปปไทด์ (หรือโปรตีน) และน้ำย่อยได้ และนำมาใช้ในอุตสาหกรรม นมเนย น้ำย่อยจากพืช เช่น ปาเปสจากมะละกอ พิซินจาก Ficus spp. และ โบรเมเลน จากสับประรด มีสรรพคุณช่วย ย่อยอาหาร แต่ทางเครื่องสำอาง ใช้สรรพคุณของมันที่ช่วย ยับยั้งการอักเสบได้เฉพาะเจาะจง กรดอะมิโน เป็นสูตรพื้นฐานของยาปฎิชีวนะ ซึ่งนำมาทำเป็นยา หรือเครื่องสำอาง ช่วยฆ่าเชื้อโรคที่ผิวหนัง โปรตีน เป็นองค์ประกอบสำคัญ ร่วมกับไขมันและน้ำตาลในยีสต์ ซึ่งอุดมไปด้วยวิตามินบี การใช้ยีสต์ผสมในยาพอกหน้า ช่วยให้หน้าเนียน ป้องกันสิว
    • วิตามิน เกลือแร่และแร่ธาตุอื่นๆ สารดังกล่าวเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการเสริมสร้างเนื้อเยื่อ กระดูก ฟัน และโครงสร้างของเซล เป็นองค์ประกอบของ เอ็นไซม์และฮอร์โมน กระตุ้นการเผาผลาญอาหาร การทำหน้าที่ ของอวัยวะต่างๆ และเก็บน้ำไว้ในร่างกาย ปกติเราจะได้สารเหล่านี้ จากผัก ผลไม้ ในผู้ป่วย อาจต้องอาศัย จากพืช สมุนไพร เพื่อทดแทนเกลือแร่ วิตามิน และแร่ธาตุที่ขาด
สารทุติยภูมิ 
1. กลัยโคไซด์ กลัยโคไซด์พบได้ทั่วไปในพืช สรรพคุณก็จะแตกต่างกันไป เมื่อกลัยโคไซด์ถูก ไฮโดรไลซ์จะได้น้ำตาลและส่วนที่ไม่ใช่น้ำตาล เรียกว่า อะกลัยโคน ตัวอะกลัยโคเป็นตัวกำหนดฤทธิ์ ของพืชสมุนไพร ตัวอย่างเช่น สมุนไพรที่ใช้ขับเสมหะ (ซาโปนิน) สมุนไพร ที่ใช้เป็นยาระบาย เป็นต้น ซาโปนินเป็นกลัยโคไซด์ ที่เมื่อรวมกับน้ำ จะให้ฟอง ช่วยให้เกิด Oil/Water อีมัลชั่น และทำให้เซล เม็ดเลือดแดงแตกได้ โดยทำให้ฮีโมโกลบิน ไหลออกจากเซลเม็ดเลือดแดง สมุนไพรที่มีซาโปนิน มีสรรพคุณใช้เป็นยาละลายเสมหะได้ เนื่องจากซาโปนินมีผลต่อความตึงผิว ทำให้เสมหะที่เหนียวข้น อ่อนใสขึ้น จึงถูกขับออกได้ง่าย เสมหะที่เกิดใหม่ก็จะไม่ข้นเหนียว ซาโปนิน มีฤทธิ์ระคายเคืองอ่อนๆ ต่อเยื่อบุ กระเพาะอาหาร จึงเกิดรีเฟล็กซ์ ทำให้ต่อมต่างๆ เพิ่มการหลั่งสาร สมุนไพร ที่มีซาโปนินบางชนิด มีสรรพคุณขับน้ำ ซึ่งมักใช้ในการฟอกโลหิต นอกจากนี้ ก็มีสรรพคุณ ทำความสะอาดผิว บำบัดอาการปวดข้อ บรรเทาอาการบวม และอาการอักเสบ ซาโปนิน ยังมีผลต่อการดูดซึมของสารสำคัญอื่นๆ ทำให้สารสำคัญ ที่แม้จะมีอยู่น้อย ก็แสดงฤทธิ์ได้มาก แต่ซาโปนิน ก็มีผลข้างเคียง ที่กัดเยื่อบุทางเดินอาหาร ในเครื่องสำอาง จะใช้ซาโปนินมาก เพราะมันทำให้เกิดฟอง ฆ่าเชื้อรา จึงใช้อาบน้ำ นอกจากซาโปนิน ก็อาจใช้ ฟินอลลิกกลัยโคไซด์ เช่น ซาลิซินจากสนุน รักษาอาการบวมอักเสบ
2. สารขม มีพืชสมุนไพรมากมายที่มีรสขม สมุนไพรที่มีรสขม เรียกว่า อะมารา (Amara) สารขมแบ่งเป็น
2.1 สารขมบริสุทธิ์ เรียกว่า อะมาราโทนิกา (Amara tonica)
2.2 สารขมที่มีน้ำมันหอมระเหยปนอยู่ด้วย จึงมีรสขม-หอม เรียกว่า อะมารา อะโรมาติกา (Amara aromatica)
2.3 สารขมที่มีรสเผ็ด เรียกว่า อะมาราอะคริกา (Amara acrica)
อะมาราโทนิกา จะพบในพืชมากมาย สารขม นี้จะกระตุ้นการหลั่งน้ำย่อย สมุนไพรที่มีรสขม จึงมีสรรพคุณทั่วไป เป็นยาเจริญอาหาร ช่วยย่อย และช่วยบำรุง ในภาวะที่อ่อนแอ เช่น ขณะพักฟื้นเป็นโรค โลหิตจาง และโรคจิตประสาท ตัวอย่างสมุนไพร เช่น เจนเทียน (Gentian lutea), Centaurium umbellatum
อะมาราอะโรมาติกา มีสรรพคุณแตกต่างจาก อะโรมาโทนิกา ไม่มากนัก การที่มีน้ำมันหอมระเหย ปนด้วย จึงมีรีเฟล็กซ์ ช่วยเพิ่มฤทธิ์ กระตุ้นการหลั่งน้ำย่อย ช่วยการทำงานของลำไส้ น้ำดี และตับ น้ำมันหอมระเหยยัง มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และพาราไซต์ ตัวอย่างสมุนไพร เช่น Artemisia absinthium, Achillea millefolium
อะมาราอะคริกา สารขมกลุ่มนี้ จะช่วยกระตุ้น การไหลเวียนโลหิต สารที่มีรสเผ็ดร้อน จะช่วยเสริม ฤทธิ์ของสารขม ตัวอย่างสมุนไพร เช่น ขิง
3. น้ำมันหอมระเหย พืชสมุนไพรที่มีน้ำมันหอมเหย มีปริมาณน้ำมันหอมระเหยร้อยละ 0.1-10 จะพบน้ำมันหอมระเหยในเซลน้ำมัน หรือต่อมน้ำมัน ในน้ำมันหอมระเหยจะมีสารเคมีกว่า 50 ชนิด แต่จะมีสาร 1-2 ชนิดเท่านั้นที่มีอยู่ในปริมาณมาก สมุนไพรที่น้ำมันหอมระเหยใช้รักษาอาการอักเสบ มีฤทธิ์ระคายเคืองผิว ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ บรรเทาอาการปวดที่กระเพาะลำไส้ ถุงน้ำดีและตับ ยับยั้งการเจริญ ของเชื้อแบคทีเรีย และไวรัส น้ำมันหอมระเหย ถูกนำไปใช้ผลิตน้ำหอม จากพืช 295 ตระกูลที่มีน้ำมันหอมระเหย พบว่ามีเพียง 1 ใน 3 เท่านั้นที่ใช้ผลิตน้ำหอมได
4. บัลซัมและเรซิน พืชสร้างบัลซัมและเรซินเมื่อเนื้อเยื่อภายนอกได้รับอันตราย เรซินมีลักษณะหนืดแข็ง ส่วนบัลซัมจะเป็นของเหลว ความจริงบัลซัมก็คือเรซินที่ละลายในน้ำมันหอมระเหย จะพบเรซินในน้ำยาบ้วนปาก ยาสีฟัน ตัวอย่างของบัลซัม เช่น เปรูบัลซัม ใช้ทำสบู่ยาและขี้ผึ้งทาป้องกันผิว
 
5. แทนนิน แทนนินมีคุณสมบัติเมื่อรวมกับโปรตีนและที่เยื่อบุอ่อนจะให้สารที่ไม่ละลายน้ำ ตัวอย่างยา ได้แก่ ยาบ้วนปากที่ใช้รักษาเหงือกอักเสบ ยาแก้ท้องเสีย ผสมน้ำอาบในคนที่เป็นริดสีดวง หรือมีเนื้อเยื่ออักเสบ จากความเย็น และอาการอักเสบอื่นๆ แทนนินเป็นสารที่ไม่คงทน ถูกอ๊อกซิไดส์ง่าย และโปลีเมอไรซ์กลายเป็น สารประกอบเชิงช้อนที่ไม่ละลายน้ำ ตัวยาประเภทนี้หากเก็บไว้นานๆ สรรพคุณจะสู้ตัวยาที่ได้มาใหม่ๆ ไม่ได้
สรรพคุณของแทนนินที่ใช้ในเครื่องสำอาง คือ คุณสมบัติฝาดสมานทำให้ผิวเนียนแน่น เมื่อทาผิวหรือ เยื่อบุอ่อนที่เป็นโรค หรือได้รับอันตราย แทนนินจะสร้างฟิล์มปกคลุม ทำให้ผิวไม่ไวต่อความรู้สึกเจ็บปวด จะหยุดการหลั่งสารและทำให้หายคัน
 
บรรณานุกรม
1. จันดี เข็มเฉลิม. รวมตำรายาไทยในพนมสารคาม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แสงรุ้งการพิมพ์,2523.
2. โครงสร้างสมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเอง สมุนไพรชาวบ้าน รวบรวมความรู้จากข่าวสารสมุนไพรตั้งแต่ปี 2523-25. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมลคีมทอง,2532.
3. Pahlow W. Meine Heilpflenzen Tees. Munche: Grafe und Unzer,1986.
4. โครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเอง. น้ำ เคล็ดลับระงับโรค จุลสารอันดับที่ 2. กรุงเทพฯ : บริษัทเคล็ดไทยจำกัด, มี.ค.2532.
;5. สมาคมโรงเรียนแพทย์แผนโบราณ. ประมวลสรรพคุณยาไทย (ภาค 1-3). กรุงเทพฯ : สำนักวัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) ท่าเตียน,2520.
6. เต็ม สมิตตินันท์. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ : กรมป่าไม้,2523.
7. โครงการเผยแพร่เอกลักษณ์ไทย. หมอไทย-ยาไทย. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ,2522.
8. Hlava B, Pospisil F, Stary F. Pflenzen furdie naturliche Schon Heit. Hanau Werner Dausien,1983