“พระคัมภีร์วรโยคสาร” ซึ่ง
“อมรเสกมหาอำมาตย์” เสนาบดีแห่งลังกาทวีป
เป็นผู้รจนาไว้ (มาปรากฏหลักฐานในไทยครั้งแรกในปี พ.ศ. 2413
สมัย ร. 5) ในหนั้งสือ “พระคัมภีร์เวชศาสตร์สงเคราะห์”
เป็นตำราการแพทย์ที่ได้รับอิทธิพลมาจากพระคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาหรือพระไตรปิฎก
(ที่เรียกการรักษาโรคว่า “ติกิจฉาวิธี”-เวชกรรม) แม้จะเข้าใจค่อนข้างยาก แต่ก็น่าสนใจและน่าศึกษา
ความตอนหนึ่งได้กล่าวถึงตำรับยารักษา “คนธาตุหย่อน” อันมีตัวยารากสามสิบ (สะตาวะริ) รวมอยู่ด้วย ดังนี้
“มะหาแกแนศ 1
สิหิงแกะแนศ 1 อมุกกะรา 1 มะหาแกสิยา 1 พะลา คือ ขัดมอน 1 เลละสิริแวะฑียะ 1 เอระมินิยะ คือ เล็บเหยี่ยว 1 อัศเวนนะ คือ
หญ้าเกล็ดหอย 1 วะจา คือ ว่านน้ำ 1
นิหิสุปะละ 1 พิละวะ คือ มะตูม 1
หิริมะสุ, ระมะนิ คือรากอบเชย 1
กิริอัคุนะ 1 แอะแทสิยะปะลุ 1
มุตุนุแวนนะ คือ ผักเปด 1 อะมะตะวัลลี คือ บอระเพ็ด 1 สะตาวะริ คือ รากสามสิบ 1 โคอุระ คือ โคกกระสุน 1 นิระละ 1 สุลุแกระ คือ หญ้าคมบางเล็ก 1 กัฏฐเวละพฏุ คือ มะเขือหนาม 1 ตะฑะพุทุ 1 เหละพฏุ คือ มะเขือขาว 1 มะธุลัฐิ คือ ชะเอม 1 มิทิ คือ คนทีสอใหญ่ 1
คณะดังกล่าวมานี้ให้จำเริญชีวิต ให้เกิดกำลัง ให้บำรุงไฟธาตุ
ให้จำเริญอิทรีย์แต่ละอย่างมีกำลังมากต่างกัน กินเข้าไปแล้วหาโทษมิได้
ให้เอาน้ำตาลกรวด น้ำผึ้ง น้ำนมโค น้ำมันเนย ทั้ง 4 สิ่งนี้
สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เปนกระสายละลายยา สิ่งหนึ่งก็ได้ 2
สิ่งก็ได้ ทั้งหมดก็ได้ เด็กก็ดี คนแก่ก็ดี คนมีกำลังก็ดี คนผอมก็ดี
คนไม่มีกำลังก็ดี คนธาตุหย่อนก็ดี ให้ประกอบยานี้กินเถิด
อนึ่ง กินแล้วให้บังเกิดบุตร
ให้อกตอแค่นแขงทั้ง 4 มีกำลัง ถึงกระดูกหักก็ดี
แพทย์ก็นับถือรักษาด้วยยานี้เถิด”
ยาตำรับนี้นับว่าน่าสนใจ เสียดายแต่เพียงว่า
ท่านผู้รู้ยุคก่อนท่านแปลมาไม่ครบสมุนไพรหลายตัวเราไม่ทราบว่าเป็นอะไร
อาจจะเป็นด้วยสมุนไพรชนิดนั้น ๆ ไม่มีในประเทศไทย
หรือหากมีท่านผู้แปลก็ไม่ทราบว่าเป็นตัวยาตัวไหนก็อาจจะเป็นได้
แต่อย่างน้อยเราก็ได้ทราบถึงสรรพคุณของสมุนไพรหลายตัวด้วยกัน เช่น หญ้าขัดมอน
ต้นเล็บเหยี่ยว หญ้าเกล็ดหอย ว่านน้ำ มะตูม รากอบเชย ผักเป็ด บอระเพ็ด รากสามสิบ
หญ้าคมบาง และโกศจุฬาลำพา เป็นต้น
อีกตำรับหนึ่งเป็นยาแก้โรคผอมแห้ง โรคลม
และแก้หอบหืด มีด้วยกัน 20 อย่าง ได้แก่
หญ้าเกล็ดหอยใหญ่ 1 ผักโหมหินเล็ก 1
ผักโหมหินใหญ่ 1 ละหุ่งขาว 1 ละหุ่งแดง
1 ทองกวาว 1 อุสภะกะชิวกะ 1 โคกกระสุน 1 รากสามสิบ 1
ดองดึง 1 หัวเบ็ญจปัตตะ 1 วณะแวนนะ 1 มะขือหนาม 1 มะเขือเครือ 1
แอดสฏิยะ 1 พาสุลุ 1 เหละฑิยะ 1
(ถ้าไม่ได้ให้เอา มุแวนนะ มหาเหละฑิยะ ถ้าไม่ได้ เอามะละแวนนะ)
อาจริยะกล่าวไว้ให้เอาสิ่งละ 40 กล่ำ ถั่วดำ 1 สะตือ 1 สวาด 1
ยาหมู่นี้แก้ผอมแห้ง แก้คุลุมโรค (โรคลมต่าง ๆ) ก็ได้ แก้ลม แก้หอบก็ได้
แก้ปิตตะก็ได้แล ฯลฯ
อีกขนานหนึ่งที่ได้จาก “พระคัมภีร์วรโยคสาร” (ที่แปลมาจากตำราของชาวสิงหล)
เป็นรากไม้ 17 อย่าง (รวมทั้งรากสิบและรากมะรุม) ได้แก่
สันพร้ามอน 1 ฏุกแวลังคุ 1 รากสามสิบ 1 มะตู 1 สิหิแมฑหังคุ 1 มะรุม 1 หญ้าคา 1 ดอกคำทั้ง 2
มะเขือขาว 1 มะเขือหนาม 1 ธารุสกะ คือ
มะปราง1 นิยะทะ 1 ติดติคะ 1 (ถ้าไม่ได้เอาเกมิทะก็ได้) คนทีสอใหญ่ 1 สะค้าน 1 เจตมูลเพลิง 1 สะตือ 1
ยาดังกล่าวนี้ มีชือว่า วะระนาทิคณะ แก้อันตะวิทราโรค
(โรคที่มีอาการเสียดแทงในลำไส้ใหญ่) แก้มันทาคินี แก้เสมหะ แก้คุลุมโรคหายแล
ยาขนานนี้ให้เอาแต่รากทั้งหมด
ตำรับสุดท้ายที่ได้จากพระคัมภีร์วรโยคสาร
ก็คือ ยาแก้เสมหะ มีสมุนไรพอยู่ 16 อย่างด้วยกัน ได้แก้
ทุรุวาทิคณะก็ดี 1 หญ้าแพรก 1
ตำแยเครือ 1 สะเดา 1 เสนียด 1 วัททุรุ 1 แห้วหมู 1
รากสามสิบ 1 กลิละ 1 ประยง 1 เอานิโครธาคณะก็ดี อุปะลาทิคณะก็ดี อัศษนาทิก็ดี สุระลาทิคณะก็ดี
มุตตาทิคณะก็ดี วจาทิคณะก็ดี คณะทั้งหลายนี้ แก้เสมหะหายฯ
ที่ได้ยกเอาตำรับยา (ที่เข้าด้วยรากสามสิบ)
มารวม 4 ตำรับนั้น
เจตนาเพื่อให้ท่านได้เข้าใจถึงภูมิหลังความเป็นมาของสมุนไพรชนิดนี้
เพราะเราคงจะนำเอาตำรับยาดังกล่าวมาปรุงเป็นโอสถเพื่อใช้รับประทานไม่ได้
เนื่องจากเราไม่ทราบว่าตัวยาอีกหลายชื่อคือพืชชนิดใด (เพราะเป็นภาษาสิงหล
หรืออาจจะเป็นภาษามคธของศรีลังกา)
ในตอนท้ายของตำรับยาตำรับที่ 2 คือยาแก้โรคผอมแห้งนั้น มีถ้อยคำที่น่าสนใจอยู่คำหนึ่งคือ คำว่า “กล่ำ” ท่านบอกว่า ให้เอาสิ่งละ “40 กล่ำ” ซึ่งเป็นมาตราเงินโบราณ โดยกล่ำ ท่านหมายถึง
มะกล่ำตาช้าง แต่หากเป็นกล่อม ท่านหมายถึง มำกล่ำตาหนู ซึ่ง 2 กล่อม จะเท่ากับ 1 กล่ำ แล 1
กล่ำ ก็คือ 1 อัฐ 8 อัฐ เท่ากับ 4 ไพ และเท่ากับ 1 เฟื้อง หรือ 2 อัฐ เท่ากับ 1 ไ นั่นเอง
ถ้าจะเอาตำรับยาที่เข้ารากสามสิบสองที่สมบูรณ์และนำมาใช้รับประทานเพื่อรักษาโรคได้จริง
ๆ มี 1 ตำรับ คือ ยาต้มบำรุงครรภ์ หรือ “ยารักษาครรภ์”
หรือ “ยาครรภรักษา” อีกทั้งเป็นยาแก้ปวดศีรษะอีกด้วย
มีสมุนไพรทั้งหมด 13 ชนิด ใช้อย่างละเท่า ๆ กัน (เสมอภาร)
ได้แก่ รากสามสิบ แก่นสน ชะลูด ขอนดอก กฤษณา กระลำพัก อบเชย เปลือกสมุลแว้ง
เทียนทั้ง 5 บัวน้ำทั้ง 5 โกศทั้ง 5 จันทน์ทั้ง 4 และ เทพทาโร
นำยาทั้งหมดมาใส่ในหม้อเคลือบหรือหม้อดิน
เติมน้ำลงไปให้ท่วมตัวยา สูงราว 6-7 เซนติเมตร
ปล่อยแช่ไว้ราว ๆ 15 นาที แล้วนำขึ้นตั้งไฟอ่อน ๆ
ต้มเคี่ยวนานราว 30 นาที
น้ำยาเดือดและมีกลิ่นหอมจึงยกหม้อลงจากเตา ใช้ดื่ม 2 เวลา
ก่อนอาหาร (เช้า-เย็น) เป็นยาบำรุงครรภ์อย่างดี